คำถามท้าย บทที่ 7 ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7.คำสั่งของระบบอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ในช่วงก่อนที่จะมีการพัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Internet Web Browser) ขึ้นมาใช้งานนั้น ผู้ใช้จำเป็นจะต้องสั่งงานผ่านคำสั่งต่าง ๆ โดยตรงซึ่งเรียกว่าเป็นการสั่งงานผ่าน Command Line คำสั่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดสองคำสั่งคือ เทลเน็ต และ เอฟทีพี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
7.2.1 เทลเน็ต
เทลเน็ต (Telnet) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีคำสั่งสำหรับให้ผู้ใช้ติดต่อกับโฮสต์เครื่องอื่นผ่านระบบเครือข่ายถ้าคำสั่งนี้ทำงานได้เรียบร้อย ผู้ใช้ก็จะสามารถใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ที่โฮสต์เครื่องนั้นได้เหมือนกับว่าผู้ใช้กำลังนั่งทำงานอยู่กับโฮสต์เครื่องนั้น รูปแบบการใช้เทลเน็ต คือ “telnet”โดยที่ หมายถึงชื่อของเครื่องโฮสต์ที่ผู้ใช้ต้องการติดต่อด้วย โดยปกติการเข้าไปใช้งานที่โฮสต์เครื่องอื่นจะต้องมีการตรวจสอบสิทธิในการใช้งาน เช่น ผู้ใช้ จะต้องป้อนชื่อผู้ใช้ (User Name) พร้อมทั้งรหัสผ่าน (Password) ซึ่งอาจเป็นชื่อจริงของผู้ใช้หรือเป็นคำที่ไม่มีความหมาย ใด ๆ ก็ได้ ในบางระบบจะเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าไปใช้งานได้เป็นบางส่วนก็จะกำหนดชื่อผู้ใช้เป็นคำว่า “Guest” หรือ “Anonymous” และมักจะกำหนดรหัสผ่านเป็นคำเดียวกันหรือเป็นที่อยู่ระบบเครือข่ายของผู้นั้น
ภาพแสดงการใช้คำสั่งเทลเน็ตในการสื่อสารผ่านระบบครือข่ายอินเทอร์เน็ต
แม้ว่าเทลเน็ตจะเป็นคำสั่งที่มีประโยชน์มากและมีผู้ใช้งานมากในอดีต แต่ในปัจจุบันผู้ใช้นิยมหันมาใช้โปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Navigator ที่มีความสะดวกสบายในการใช้งานมากกว่า จนทำให้ไม่ค่อยมีคนรู้จักคำสั่งเทลเน็ตมากเหมือนในอดีต อย่างไรก็ตามการติดต่อเพื่อใช้บริการบางอย่างที่โฮสต์บางแห่งก็ยังคงจำเป็นต้องใช้คำสั่งนี้อยู่
7.2.2 เอฟทีพี
เอฟทีพี (File Transfer Protocol; FTP) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายในอดีตการใช้คำสั่งนี้เป็นการทำงานแบบ Command Line เช่นเดียวกับคำสั่งเทลเน็ต ปัจจุบันโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ได้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้โดยการซ่อนคำสั่งนี้ไว้ภายในตัวเอง เวลาที่ผู้ใช้ทำการรับหรือส่งแฟ้มข้อมูลโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ก็จะเรียกใช้คำสั่งเอฟทีพีให้โดยอัตโนมัติ
การที่ผู้ใช้รับสำเนาแฟ้มข้อมูลมาจากโฮสต์ เรียกว่า ผู้ใช้กำลังดาวน์โหลด (Download) แฟ้มข้อมูล นั่นคือโฮสต์จะจัดการส่งสำเนาแฟ้มข้อมูลมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ส่วนเวลาที่ผู้ใช้ส่งสำเนาแฟ้มข้อมูลไปยังโฮสต์ เรียกว่า อัพโหลด (Upload) แฟ้มข้อมูลคือสำเนาของแฟ้มข้อมูลที่เครื่องผู้ใช้ถูกส่งไปเก็บไว้ที่เครื่องโฮลต์ในทั้งสองกรณี เมื่อการทำงานเสร็จสิ้นแล้ว จะมีแฟ้มข้อมูลอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องซึ่งเหมือนกันทุกประการ
การออกคำสั่งเอฟทีพีคล้ายกับคำสั่งเทลเน็ต คือ FTP ในกรณีนี้ผู้ใช้เพียงแต่ใช้เม้าส์ (Mouse) คลิกไปที่ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ ตัวโปรแกรมก็จะจัดการเรียกใช้คำสั่ง เอฟทีพี เพื่อดึงแฟ้มข้อมูลนั้นมาให้ผู้ใช้โดยอัตโนมัติในกรณีที่ผู้ใช้เลือกใช้คำสั่งเอฟทีพีโดยตรง ผู้ใช้จะต้องค้นหาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการให้พบแล้วจึงใช้คำสั่งสำหรับดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูลนั้นคือ GET หรือถ้าต้องการส่งแฟ้มข้อมูลไปที่เครื่องโฮสต์ก็จะใช้คำสั่งอัพโหลดคือ SEND โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ Netscape Navigator ซึ่งมีบริการต่าง ๆ รวมทั้งเอฟทีพีอยู่ใน ตัวเอง
ในกรณีนี้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมบราวเซอร์เข้าไปดูรายการแฟ้มข้อมูลที่เว็บไซต์ที่ต้องการได้ เมื่อพบแฟ้มข้อมูลที่ต้องการก็สามารถดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูลนั้นได้โดยการใช้เม้าส์คลิกที่ชื่อแฟ้ม ข้อมูลนั้น
โปรแกรมบราวเซอร์ก็จะจัดการดึงสำเนาแฟ้มข้อมูลนั้นเข้ามาเก็บไว้ที่เครื่องผู้ใช้ให้โดยอัตโนมัติ แฟ้มข้อมูลที่มีไว้ให้ดาวน์โหลดนั้นมีมากมาย บางกลุ่มเรียกว่าเป็น Shareware ซึ่งหมายถึงโปรแกรมใด ๆ ก็ตามที่มีวัตถุประสงค์ในการค้า แต่ยินยอมให้ผู้ใช้นำโปรแกรมไปทดลองใช้ก่อน เมื่อ ผู้ใช้ตัดสินใจที่จะใช้โปรแกรมนั้นอย่างจริงจังก็ค่อยจัดการชำระเงินให้ภายหลัง มิฉะนั้นผู้ใช้ก็จะลบโปรแกรมนั้นทิ้งไป ข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่มีประโยชน์แก่ผู้ใช้ทั่วไป เรียกว่า FAQs (Frequently Asked Questions) ข้อมูลประเภทนี้หมายถึงปัญหาที่มีผู้ใช้สอบถามมายังผู้ให้บริการ เช่น บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และทางผู้ให้บริการก็มีคำตอบให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่มีคำถามในลักษณะเดียวกันก็สามารถพบคำตอบได้ในทันที หรือแม้จะยังไม่มีคำถามนั้น ๆ ผู้ใช้ก็จะสามารถจดจำคำตอบเอาไว้ใช้ แก้ปัญหานั้นได้ในภายหลัง
วิธีการทำงานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์และข่าวสารทุกชนิดที่ส่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านระบบเครือข่ายย่อยและสายสื่อสารหลายชนิดที่มีความแตกต่างกันออกไป สิ่งที่ทำให้ข้อมูลถูกส่งผ่านไปยังระบบต่าง ๆ ไปถึงยังเป้าหมายได้ คือการใช้เทคโนโลยีแบบสวิทชิ่งแพ็กเกตและควบคุมการทำงานโดยโพรโทคอลทีซีพี/ไอพี ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ทุกชนิดที่จะต้องใช้เมื่อติดต่อเข้ากับระบบ อินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ผู้ใช้ที่ทำงานอยู่ที่บ้านหรือที่ใด ๆ สามารถใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อแบบโมเด็ม (Modem) เพื่อติดต่อไปยังศูนย์ให้บริการไอเอสพี (Internet Service Provider; ISP) ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาที่ศูนย์ให้บริการก็จะต้องมีโมเด็มเป็นตัวรับ เนื่องจากโมเด็มทั้งสองตัวอาจมีความเร็วในการทำงานไม่เท่ากันความเร็วที่เกิดขึ้นจริงจะขึ้นอยู่กับที่ความเร็วของโมเด็มตัวที่ทำงานช้ากว่า โดยโมเด็มอีกตัวหนึ่งจะต้องลดความเร็วลงมาให้เท่ากัน ระบบโทรศัพท์แบบใหม่คือ ไอเอสดีเอ็น (Integrated Service Digital Network; ISDN) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารได้ที่ความเร็ว 64,000 ถึง 128,000 บิตต่อวินาที ประมาณ 5 เท่าของการใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา และระบบใหม่ล่าสุด เรียกว่า ดีเอสแอล (Digital Subscriber Line, DSL) เพิ่มความเร็วขึ้นไปถึง 640,000 ถึง 7 ล้านบิตต่อวินาที
ผู้ใช้ที่อยู่ที่ทำงานอยู่ในสถานศึกษา มักจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบ เครือข่ายเฉพาะบริเวณขององค์กรนั้น ซึ่งจะเชื่อมต่อกับไอเอสพีผ่านสายวงจรเช่า เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะไม่ใช้โมเด็มแต่จะใช้อุปกรณ์เรียกว่า เน็ตเวอร์คการ์ด (Network Interface Card; NIC) ในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายขององค์กร
ภาพแสดงเน็ตเวอร์คการ์ด
ในประเทศสหรัฐอเมริกามีบริการแบบใหม่สำหรับผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกบริษัทเอกชนที่ให้บริการสัญญาณโทรทัศน์ผ่านทางสายเคเบิล เรียกว่า เคเบิลทีวี (Cable Television) ซึ่งใช้สายสัญญาณแบบสายโคแอกเซียล ส่วนเคเบิลทีวีในประเทศไทย ( บริษัทยูบีซี ) ใช้สายใยแก้วนำแสง ผู้ใช้กลุ่มนี้สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางสายเคเบิลทีวีได้โดยตรงเรียกว่า เว็บทีวี (Web TV) ซึ่งสามารถทำการรับ - ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 500,000 ถึง 30 ล้านบิตต่อวินาที การใช้งานผ่านสื่อชนิดอื่นก็กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา เช่น การใช้เทคโนโลยีสำหรับโทรศัพท์มือถือ (Wireless Application Protocol; WAP) เป็นต้น
บริการอื่น ๆ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
นอกเหนือจากเครือข่ายเว็บบนระบบอินเทอร์เน็ตแล้วยังมีบริการอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อยู่อีกกลุ่มหนึ่งคือ โกเฟอร์ โปรแกรมสำหรับการค้นหาข้อมูล และระบบข่าวสารเฉพาะกลุ่มโปรแกรม เหล่านี้มีวิธีการใช้งานและการเรียกใช้แตกต่างไปจากบราวเซอร์ดังรายละเอียดต่อไปนี้
7.5.1 โกเฟอร์
โดยปกติผู้ใช้ที่เรียกใช้โปรแกรมเทลเน็ต (Telnet) เพื่อติดต่อเข้าไปยังโฮสต์เครื่องหนึ่งมักจะประสบปัญหากับความไม่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ในโฮสต์นั้น ๆ ทำให้การค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพื่อแก้ปัญหานี้คณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยมิเนโซต้า (University of Minnesota) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาโปรแกรมโกเฟอร์ (Gopher) ขึ้นมาใช้งานใน พ.ศ. 2534 โปรแกรมนี้จะช่วยสร้างเมนูหรือข้อเลือกสำหรับการทำงานที่ต้องการที่สามารถทำงานได้กับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Windows 9x, Windows NT, Mac-OS, Unix และอื่น ๆ ช่วยให้ผู้ใช้ที่ไม่มีความคุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการนั้น ๆ สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้โดยง่าย
โปรแกรมโกเฟอร์ประกอบด้วยสองส่วนคือโกเฟอร์สำหรับเครื่องผู้ใช้บริการ (Gopher Server) ทำหน้าที่คอยให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไป และโกเฟอร์สำหรับผู้ใช้ (Client Gopher) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำงานอยู่บนเครื่องผู้ใช้ ระบบเมนูหรือตัวเลือกของโกเฟอร์นั้นคือโปรแกรมย่อยสำหรับค้นหาข้อมูลตามคุณลักษณะ เช่น หัวข้อเรื่อง หรือชื่อใด ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการค้นหา ซึ่งจะมีโครงสร้างเหมือนกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทใดก็ตาม ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ต้องการสร้างส่วนที่ติดต่อผู้ใช้ให้เหมือนกันหมด (Common User Interface) สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมไดจากเว็บไซต์ของโกเฟอร์ที่ gopher://wx.atmos.uiuc.edu/
7.5.2 โปรแกรมค้นหาข้อมูล
การค้นหาข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ที่ไม่มีความคุ้นเคยหรือขาดประสบการณ์เนื่องจากปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ อีกทั้งไม่มีผู้ใดทำหน้าที่ดูแลจึงมีสภาพคล้ายกับห้องสมุดขนาดใหญ่ แต่ไม่มีบรรณารักษ์และหนังสือก็ไม่มีการจัดเรียงตามหมวดหมู่เลย อย่างไรก็ตามได้มีบริษัทหลายแห่งเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้ทั่วไปโดยการนำ ข้อมูลจำนวนมากบนระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามาจัดเรียงตามหมวดหมู่ต่าง ๆ ทำหน้าที่คล้ายกับห้องสมุดอินเทอร์เน็ต ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้บรรจุข้อมูลเหล่านั้นเอาไว้ทั้งหมดแต่ก็บรรจุข้อมูลไว้มากพอที่จะให้ผู้ใช้ ค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ และสามารถเข้าไปดูรายละเอียดโดยตรงจากเว็บไซต์นั้น ๆ ได้อย่างง่ายดาย บริษัทที่ให้บริการประเภทนี้เรียกโปรแกรมสำหรับค้นหาข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตว่า เซิร์ชเอ็นจิน(Search Engine) หรือเซิร์ชทูล (Search Tool)
7.5.3 อาร์ชี
โปรแกรมที่ช่วยค้นหาข้อมูลอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า อาร์ชี (Archie) พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ค้นหาแฟ้มข้อมูลที่มีไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไปที่เก็บรักษาไว้ที่เครื่องผู้ให้บริการบนระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการจะมีอยู่ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ โปรแกรมอาร์ชีช่วยให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกในการเข้าไปค้นหาข้อมูลตามเว็บไซต์เหล่านี้โดยจัดการขออนุญาตเข้าไปใช้บริการ (Log in) ให้โดยอัตโนมัติ ข้อมูลที่เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลจะถูกสร้างสำเนาเข้าไปเก็บไว้ในเว็บไซต์อาร์ชี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูได้โดยสะดวก เมื่อ ผู้ใช้เลือกแฟ้มข้อมูลที่ต้องการได้แล้วโปรแกรมอาร์ชีจึงจะไปสร้างสำเนาแฟ้มข้อมูลนั้นขึ้นมาและส่งไปให้ผู้ใช้ในที่สุด การใช้งานโปรแกรมอาร์ชีอาจมีขั้นตอนยุ่งยากอยู่บ้างเพราะอาจต้องสมัครเป็นสมาชิก และผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้งาน นอกจากนี้ผู้ใช้อาจต้องเรียนรู้คำสั่งบางอย่างเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น
7.5.4 เวอร์โรนิกา
โปรแกรมเวอร์โรนิกา (Veronica) เป็นโปรแกรมช่วยเหลือผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานโปรแกรมโกเฟอร์แต่ไม่สามารถใช้โปรแกรมโกเฟอร์ได้ (เนื่องจากโกเฟอร์ทำงานด้วยการสั่งงานเป็นคำสั่งโดยตรงเท่านั้น) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเวอร์โรนิกาเป็นโกเฟอร์ที่ทำงานแบบกราฟิกที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้นและมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
7.5.5 นิวส์กรุปและรายชื่อกลุ่ม
ปัญหาในเรื่องปริมาณข่าวสารบนระบบอินเทอร์เน็ตได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบสำหรับการรับ-ส่งข่าวสารอัตโนมัติขึ้นมาสองระบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ คือ นิวส์กรุป (News Group) และ รายชื่อกลุ่ม (Mailing Lists)
7.5.5.1 นิวส์กรุป
ตัวอย่างของระบบนิวส์กรุปที่มีผู้นิยมใช้งานมากได้แก่ Usenet News Group มีวัตถุประสงค์หลักในการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือความคิดเห็นในลักษณะอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ใช้ที่เป็นสมาชิก ผู้ใช้สามารถส่งข่าวสารไปที่ศูนย์บริการข่าวสารเพื่อประกาศหรือโฆษณาให้สมาชิกผู้อื่นได้ทราบ และสามารถดูข่าวสารที่ผู้อื่นติดประกาศไว้ ซึ่งผู้ใช้ก็สามารถส่งข้อความร่วมแสดงความคิดเห็นกับข่าวสารนั้น ๆ ได้ ในยุคแรกก่อนที่จะมีนิวส์กรุปมีการให้บริการในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ เรียกว่า กระดานสื่อสาร (Bulletin Board) แต่เป็นการทำงานที่เน้นการรับ-ส่งข้อความเพียงอย่างเดียว (Text Based)
นิวส์กรุปจะมีข่าวสารข้อมูลเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่แทบทุกวัน เว็บไซต์อย่างเช่น ftp://ftp.uu.net/networking/news/config เป็นที่รวบรวมรายชื่อนิวส์กรุปจำนวนมาก ส่วนการเข้าไปอ่านข่าวสารในนิวส์กรุปจะต้องใช้โปรแกรมเรียกว่า Newsreader Program ซึ่งมีอยู่มากมายโดยเฉพาะในระบบปฏิบัติการยูนิกส์
7.5.5.2 รายชื่อกลุ่ม
รายชื่อกลุ่มมีความคล้ายคลึงกับนิวส์กรุปมาก นั่นคือเป็นวิธีการแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างผู้ใช้บนระบบอินเทอร์เน็ต ส่วนที่แตกต่างกันคือ ผู้ใช้รายชื่อกลุ่ม (Mailing Lists หรือ Listserv) จะต้องมีการลงทะเบียนหรือสมัครเป็นสมาชิกแบบรายบุคคลก่อน รายชื่อกลุ่มแบ่งออกเป็นสามประเภทคือ
(1) แบบรับข่าวสารจากสมาชิกอื่น (Unmoderated List) สมาชิกจะได้รับข่าวสารที่ถูกส่งจากสมาชิกอื่น
(2) แบบผ่านศูนย์ควบคุม (Moderates List) จะมีโปรแกรมควบคุมที่ศูนย์กลาง (เรียกว่า Listserver Moderator) เป็นผู้ตัดสินใจว่าข่าวสารชนิดใดสมควรจะถูกส่งต่อไปให้สมาชิก ทั้งหมด
(3) แบบศูนย์ข่าวสารชั้นดี (Digest) เป็นที่รวบรวมของข่าวสารชั้นดีที่ได้รับการคัดเลือกเก็บไว้คล้ายกับแมกกาซีนหรือวารสารที่ผู้ใช้จะต้องเข้ามาเลือกจะเห็นได้ว่าบทบาทของรายชื่อกลุ่มนั้นเหมือนกับการที่ผู้ใช้บอกรับหนังสือพิมพ์หรือวารสารทั่วไป ผู้ใช้จะต้องเสียค่าสมาชิกจึงจะได้รับหนังสือพิมพ์หรือวารสารนั้นอย่างสม่ำเสมอ เมื่อไม่ต้องการอ่านข่าวสารนั้น ๆ อีกต่อไป ผู้ใช้ก็จะต้องบอกเลิกหรือหยุดการชำระค่าสมาชิกได้
7.คำสั่งของระบบอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ในช่วงก่อนที่จะมีการพัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Internet Web Browser) ขึ้นมาใช้งานนั้น ผู้ใช้จำเป็นจะต้องสั่งงานผ่านคำสั่งต่าง ๆ โดยตรงซึ่งเรียกว่าเป็นการสั่งงานผ่าน Command Line คำสั่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดสองคำสั่งคือ เทลเน็ต และ เอฟทีพี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
7.2.1 เทลเน็ต
เทลเน็ต (Telnet) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีคำสั่งสำหรับให้ผู้ใช้ติดต่อกับโฮสต์เครื่องอื่นผ่านระบบเครือข่ายถ้าคำสั่งนี้ทำงานได้เรียบร้อย ผู้ใช้ก็จะสามารถใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ที่โฮสต์เครื่องนั้นได้เหมือนกับว่าผู้ใช้กำลังนั่งทำงานอยู่กับโฮสต์เครื่องนั้น รูปแบบการใช้เทลเน็ต คือ “telnet
ภาพแสดงการใช้คำสั่งเทลเน็ตในการสื่อสารผ่านระบบครือข่ายอินเทอร์เน็ต
แม้ว่าเทลเน็ตจะเป็นคำสั่งที่มีประโยชน์มากและมีผู้ใช้งานมากในอดีต แต่ในปัจจุบันผู้ใช้นิยมหันมาใช้โปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Navigator ที่มีความสะดวกสบายในการใช้งานมากกว่า จนทำให้ไม่ค่อยมีคนรู้จักคำสั่งเทลเน็ตมากเหมือนในอดีต อย่างไรก็ตามการติดต่อเพื่อใช้บริการบางอย่างที่โฮสต์บางแห่งก็ยังคงจำเป็นต้องใช้คำสั่งนี้อยู่
7.2.2 เอฟทีพี
เอฟทีพี (File Transfer Protocol; FTP) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายในอดีตการใช้คำสั่งนี้เป็นการทำงานแบบ Command Line เช่นเดียวกับคำสั่งเทลเน็ต ปัจจุบันโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ได้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้โดยการซ่อนคำสั่งนี้ไว้ภายในตัวเอง เวลาที่ผู้ใช้ทำการรับหรือส่งแฟ้มข้อมูลโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ก็จะเรียกใช้คำสั่งเอฟทีพีให้โดยอัตโนมัติ
การที่ผู้ใช้รับสำเนาแฟ้มข้อมูลมาจากโฮสต์ เรียกว่า ผู้ใช้กำลังดาวน์โหลด (Download) แฟ้มข้อมูล นั่นคือโฮสต์จะจัดการส่งสำเนาแฟ้มข้อมูลมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ส่วนเวลาที่ผู้ใช้ส่งสำเนาแฟ้มข้อมูลไปยังโฮสต์ เรียกว่า อัพโหลด (Upload) แฟ้มข้อมูลคือสำเนาของแฟ้มข้อมูลที่เครื่องผู้ใช้ถูกส่งไปเก็บไว้ที่เครื่องโฮลต์ในทั้งสองกรณี เมื่อการทำงานเสร็จสิ้นแล้ว จะมีแฟ้มข้อมูลอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องซึ่งเหมือนกันทุกประการ
การออกคำสั่งเอฟทีพีคล้ายกับคำสั่งเทลเน็ต คือ FTP
ในกรณีนี้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมบราวเซอร์เข้าไปดูรายการแฟ้มข้อมูลที่เว็บไซต์ที่ต้องการได้ เมื่อพบแฟ้มข้อมูลที่ต้องการก็สามารถดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูลนั้นได้โดยการใช้เม้าส์คลิกที่ชื่อแฟ้ม ข้อมูลนั้น
โปรแกรมบราวเซอร์ก็จะจัดการดึงสำเนาแฟ้มข้อมูลนั้นเข้ามาเก็บไว้ที่เครื่องผู้ใช้ให้โดยอัตโนมัติ แฟ้มข้อมูลที่มีไว้ให้ดาวน์โหลดนั้นมีมากมาย บางกลุ่มเรียกว่าเป็น Shareware ซึ่งหมายถึงโปรแกรมใด ๆ ก็ตามที่มีวัตถุประสงค์ในการค้า แต่ยินยอมให้ผู้ใช้นำโปรแกรมไปทดลองใช้ก่อน เมื่อ ผู้ใช้ตัดสินใจที่จะใช้โปรแกรมนั้นอย่างจริงจังก็ค่อยจัดการชำระเงินให้ภายหลัง มิฉะนั้นผู้ใช้ก็จะลบโปรแกรมนั้นทิ้งไป ข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่มีประโยชน์แก่ผู้ใช้ทั่วไป เรียกว่า FAQs (Frequently Asked Questions) ข้อมูลประเภทนี้หมายถึงปัญหาที่มีผู้ใช้สอบถามมายังผู้ให้บริการ เช่น บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และทางผู้ให้บริการก็มีคำตอบให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่มีคำถามในลักษณะเดียวกันก็สามารถพบคำตอบได้ในทันที หรือแม้จะยังไม่มีคำถามนั้น ๆ ผู้ใช้ก็จะสามารถจดจำคำตอบเอาไว้ใช้ แก้ปัญหานั้นได้ในภายหลัง
วิธีการทำงานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์และข่าวสารทุกชนิดที่ส่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านระบบเครือข่ายย่อยและสายสื่อสารหลายชนิดที่มีความแตกต่างกันออกไป สิ่งที่ทำให้ข้อมูลถูกส่งผ่านไปยังระบบต่าง ๆ ไปถึงยังเป้าหมายได้ คือการใช้เทคโนโลยีแบบสวิทชิ่งแพ็กเกตและควบคุมการทำงานโดยโพรโทคอลทีซีพี/ไอพี ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ทุกชนิดที่จะต้องใช้เมื่อติดต่อเข้ากับระบบ อินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ผู้ใช้ที่ทำงานอยู่ที่บ้านหรือที่ใด ๆ สามารถใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อแบบโมเด็ม (Modem) เพื่อติดต่อไปยังศูนย์ให้บริการไอเอสพี (Internet Service Provider; ISP) ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาที่ศูนย์ให้บริการก็จะต้องมีโมเด็มเป็นตัวรับ เนื่องจากโมเด็มทั้งสองตัวอาจมีความเร็วในการทำงานไม่เท่ากันความเร็วที่เกิดขึ้นจริงจะขึ้นอยู่กับที่ความเร็วของโมเด็มตัวที่ทำงานช้ากว่า โดยโมเด็มอีกตัวหนึ่งจะต้องลดความเร็วลงมาให้เท่ากัน ระบบโทรศัพท์แบบใหม่คือ ไอเอสดีเอ็น (Integrated Service Digital Network; ISDN) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารได้ที่ความเร็ว 64,000 ถึง 128,000 บิตต่อวินาที ประมาณ 5 เท่าของการใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา และระบบใหม่ล่าสุด เรียกว่า ดีเอสแอล (Digital Subscriber Line, DSL) เพิ่มความเร็วขึ้นไปถึง 640,000 ถึง 7 ล้านบิตต่อวินาที
ผู้ใช้ที่อยู่ที่ทำงานอยู่ในสถานศึกษา มักจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบ เครือข่ายเฉพาะบริเวณขององค์กรนั้น ซึ่งจะเชื่อมต่อกับไอเอสพีผ่านสายวงจรเช่า เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะไม่ใช้โมเด็มแต่จะใช้อุปกรณ์เรียกว่า เน็ตเวอร์คการ์ด (Network Interface Card; NIC) ในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายขององค์กร
ภาพแสดงเน็ตเวอร์คการ์ด
ในประเทศสหรัฐอเมริกามีบริการแบบใหม่สำหรับผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกบริษัทเอกชนที่ให้บริการสัญญาณโทรทัศน์ผ่านทางสายเคเบิล เรียกว่า เคเบิลทีวี (Cable Television) ซึ่งใช้สายสัญญาณแบบสายโคแอกเซียล ส่วนเคเบิลทีวีในประเทศไทย ( บริษัทยูบีซี ) ใช้สายใยแก้วนำแสง ผู้ใช้กลุ่มนี้สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางสายเคเบิลทีวีได้โดยตรงเรียกว่า เว็บทีวี (Web TV) ซึ่งสามารถทำการรับ - ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 500,000 ถึง 30 ล้านบิตต่อวินาที การใช้งานผ่านสื่อชนิดอื่นก็กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา เช่น การใช้เทคโนโลยีสำหรับโทรศัพท์มือถือ (Wireless Application Protocol; WAP) เป็นต้น
บริการอื่น ๆ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
นอกเหนือจากเครือข่ายเว็บบนระบบอินเทอร์เน็ตแล้วยังมีบริการอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อยู่อีกกลุ่มหนึ่งคือ โกเฟอร์ โปรแกรมสำหรับการค้นหาข้อมูล และระบบข่าวสารเฉพาะกลุ่มโปรแกรม เหล่านี้มีวิธีการใช้งานและการเรียกใช้แตกต่างไปจากบราวเซอร์ดังรายละเอียดต่อไปนี้
7.5.1 โกเฟอร์
โดยปกติผู้ใช้ที่เรียกใช้โปรแกรมเทลเน็ต (Telnet) เพื่อติดต่อเข้าไปยังโฮสต์เครื่องหนึ่งมักจะประสบปัญหากับความไม่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ในโฮสต์นั้น ๆ ทำให้การค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพื่อแก้ปัญหานี้คณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยมิเนโซต้า (University of Minnesota) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาโปรแกรมโกเฟอร์ (Gopher) ขึ้นมาใช้งานใน พ.ศ. 2534 โปรแกรมนี้จะช่วยสร้างเมนูหรือข้อเลือกสำหรับการทำงานที่ต้องการที่สามารถทำงานได้กับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Windows 9x, Windows NT, Mac-OS, Unix และอื่น ๆ ช่วยให้ผู้ใช้ที่ไม่มีความคุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการนั้น ๆ สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้โดยง่าย
โปรแกรมโกเฟอร์ประกอบด้วยสองส่วนคือโกเฟอร์สำหรับเครื่องผู้ใช้บริการ (Gopher Server) ทำหน้าที่คอยให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไป และโกเฟอร์สำหรับผู้ใช้ (Client Gopher) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำงานอยู่บนเครื่องผู้ใช้ ระบบเมนูหรือตัวเลือกของโกเฟอร์นั้นคือโปรแกรมย่อยสำหรับค้นหาข้อมูลตามคุณลักษณะ เช่น หัวข้อเรื่อง หรือชื่อใด ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการค้นหา ซึ่งจะมีโครงสร้างเหมือนกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทใดก็ตาม ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ต้องการสร้างส่วนที่ติดต่อผู้ใช้ให้เหมือนกันหมด (Common User Interface) สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมไดจากเว็บไซต์ของโกเฟอร์ที่ gopher://wx.atmos.uiuc.edu/
7.5.2 โปรแกรมค้นหาข้อมูล
การค้นหาข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ที่ไม่มีความคุ้นเคยหรือขาดประสบการณ์เนื่องจากปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ อีกทั้งไม่มีผู้ใดทำหน้าที่ดูแลจึงมีสภาพคล้ายกับห้องสมุดขนาดใหญ่ แต่ไม่มีบรรณารักษ์และหนังสือก็ไม่มีการจัดเรียงตามหมวดหมู่เลย อย่างไรก็ตามได้มีบริษัทหลายแห่งเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้ทั่วไปโดยการนำ ข้อมูลจำนวนมากบนระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามาจัดเรียงตามหมวดหมู่ต่าง ๆ ทำหน้าที่คล้ายกับห้องสมุดอินเทอร์เน็ต ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้บรรจุข้อมูลเหล่านั้นเอาไว้ทั้งหมดแต่ก็บรรจุข้อมูลไว้มากพอที่จะให้ผู้ใช้ ค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ และสามารถเข้าไปดูรายละเอียดโดยตรงจากเว็บไซต์นั้น ๆ ได้อย่างง่ายดาย บริษัทที่ให้บริการประเภทนี้เรียกโปรแกรมสำหรับค้นหาข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตว่า เซิร์ชเอ็นจิน(Search Engine) หรือเซิร์ชทูล (Search Tool)
7.5.3 อาร์ชี
โปรแกรมที่ช่วยค้นหาข้อมูลอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า อาร์ชี (Archie) พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ค้นหาแฟ้มข้อมูลที่มีไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไปที่เก็บรักษาไว้ที่เครื่องผู้ให้บริการบนระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการจะมีอยู่ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ โปรแกรมอาร์ชีช่วยให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกในการเข้าไปค้นหาข้อมูลตามเว็บไซต์เหล่านี้โดยจัดการขออนุญาตเข้าไปใช้บริการ (Log in) ให้โดยอัตโนมัติ ข้อมูลที่เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลจะถูกสร้างสำเนาเข้าไปเก็บไว้ในเว็บไซต์อาร์ชี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูได้โดยสะดวก เมื่อ ผู้ใช้เลือกแฟ้มข้อมูลที่ต้องการได้แล้วโปรแกรมอาร์ชีจึงจะไปสร้างสำเนาแฟ้มข้อมูลนั้นขึ้นมาและส่งไปให้ผู้ใช้ในที่สุด การใช้งานโปรแกรมอาร์ชีอาจมีขั้นตอนยุ่งยากอยู่บ้างเพราะอาจต้องสมัครเป็นสมาชิก และผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้งาน นอกจากนี้ผู้ใช้อาจต้องเรียนรู้คำสั่งบางอย่างเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น
7.5.4 เวอร์โรนิกา
โปรแกรมเวอร์โรนิกา (Veronica) เป็นโปรแกรมช่วยเหลือผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานโปรแกรมโกเฟอร์แต่ไม่สามารถใช้โปรแกรมโกเฟอร์ได้ (เนื่องจากโกเฟอร์ทำงานด้วยการสั่งงานเป็นคำสั่งโดยตรงเท่านั้น) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเวอร์โรนิกาเป็นโกเฟอร์ที่ทำงานแบบกราฟิกที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้นและมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
7.5.5 นิวส์กรุปและรายชื่อกลุ่ม
ปัญหาในเรื่องปริมาณข่าวสารบนระบบอินเทอร์เน็ตได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบสำหรับการรับ-ส่งข่าวสารอัตโนมัติขึ้นมาสองระบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ คือ นิวส์กรุป (News Group) และ รายชื่อกลุ่ม (Mailing Lists)
7.5.5.1 นิวส์กรุป
ตัวอย่างของระบบนิวส์กรุปที่มีผู้นิยมใช้งานมากได้แก่ Usenet News Group มีวัตถุประสงค์หลักในการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือความคิดเห็นในลักษณะอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ใช้ที่เป็นสมาชิก ผู้ใช้สามารถส่งข่าวสารไปที่ศูนย์บริการข่าวสารเพื่อประกาศหรือโฆษณาให้สมาชิกผู้อื่นได้ทราบ และสามารถดูข่าวสารที่ผู้อื่นติดประกาศไว้ ซึ่งผู้ใช้ก็สามารถส่งข้อความร่วมแสดงความคิดเห็นกับข่าวสารนั้น ๆ ได้ ในยุคแรกก่อนที่จะมีนิวส์กรุปมีการให้บริการในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ เรียกว่า กระดานสื่อสาร (Bulletin Board) แต่เป็นการทำงานที่เน้นการรับ-ส่งข้อความเพียงอย่างเดียว (Text Based)
นิวส์กรุปจะมีข่าวสารข้อมูลเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่แทบทุกวัน เว็บไซต์อย่างเช่น ftp://ftp.uu.net/networking/news/config เป็นที่รวบรวมรายชื่อนิวส์กรุปจำนวนมาก ส่วนการเข้าไปอ่านข่าวสารในนิวส์กรุปจะต้องใช้โปรแกรมเรียกว่า Newsreader Program ซึ่งมีอยู่มากมายโดยเฉพาะในระบบปฏิบัติการยูนิกส์
7.5.5.2 รายชื่อกลุ่ม
รายชื่อกลุ่มมีความคล้ายคลึงกับนิวส์กรุปมาก นั่นคือเป็นวิธีการแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างผู้ใช้บนระบบอินเทอร์เน็ต ส่วนที่แตกต่างกันคือ ผู้ใช้รายชื่อกลุ่ม (Mailing Lists หรือ Listserv) จะต้องมีการลงทะเบียนหรือสมัครเป็นสมาชิกแบบรายบุคคลก่อน รายชื่อกลุ่มแบ่งออกเป็นสามประเภทคือ
(1) แบบรับข่าวสารจากสมาชิกอื่น (Unmoderated List) สมาชิกจะได้รับข่าวสารที่ถูกส่งจากสมาชิกอื่น
(2) แบบผ่านศูนย์ควบคุม (Moderates List) จะมีโปรแกรมควบคุมที่ศูนย์กลาง (เรียกว่า Listserver Moderator) เป็นผู้ตัดสินใจว่าข่าวสารชนิดใดสมควรจะถูกส่งต่อไปให้สมาชิก ทั้งหมด
(3) แบบศูนย์ข่าวสารชั้นดี (Digest) เป็นที่รวบรวมของข่าวสารชั้นดีที่ได้รับการคัดเลือกเก็บไว้คล้ายกับแมกกาซีนหรือวารสารที่ผู้ใช้จะต้องเข้ามาเลือกจะเห็นได้ว่าบทบาทของรายชื่อกลุ่มนั้นเหมือนกับการที่ผู้ใช้บอกรับหนังสือพิมพ์หรือวารสารทั่วไป ผู้ใช้จะต้องเสียค่าสมาชิกจึงจะได้รับหนังสือพิมพ์หรือวารสารนั้นอย่างสม่ำเสมอ เมื่อไม่ต้องการอ่านข่าวสารนั้น ๆ อีกต่อไป ผู้ใช้ก็จะต้องบอกเลิกหรือหยุดการชำระค่าสมาชิกได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น